Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่นักท่องเที่ยวสูงสุดของจังหวัดในภาคเหนือ เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองโบราณนับร้อยๆปี จุดเด่นเรื่องท่องเที่ยวของเชียงใหม่จุดหนึ่งคือ คูเมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะล้อมรอบทั้งสี่ด้านของกลางเมืองเชียงใหม่ ภายในคูเมืองมีการควบคุมไม่ให้สร้างตึกสูงเกินไป บ้านเรือนยังมีความเป็นล้านนา สวยงามสบายตาและก็สอาดน่าท่องเที่ยว

ผู้คนของเชียงใหม่ยังคงรักษาวัฒนธรรมด้านภาษาไว้ได้อย่างดี เมื่อไปถามไถ่พูดคุยกับเขาก็จะอู้กำเมือง ซึ่งเป็นคำพูดที่หวานหูชวนน่าฟัง นิสัยใจคอของคนที่นี่ก็ชอบช่วยเหลือดูง่ายๆเวลาเราจอดรถถามทางก็จะยิ้มแย้มแจ่มใส พยายามช่วยอย่างเต็มที่บางรายขับรถนำทางเลยก็มี นี่เป็นเสน่ห์ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเชียงใหม่กันจำนวนมาก โดยเฉพาะหน้าหนาว ตั้งแต่ปลายตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ตัวเมืองเชียงใหม่อยู่ติดกับดอยสุเทพทำให้ทัศนียภาพดูสวยงาม ในทุกฤดูกาล หน้าหนาวอากาศเย็นสบายช่วงเช้ามืดอุณหภูมิอยู่ที่ประมาญ 15 องศา กลางวันประมาณ 25 องศา บ่ายๆอาจร้านหน่อยแต่ก็ไม่เหนียวตัว ในช่วงหน้าฝน เนื่องจากอยู่ติดดอยสุเทพ ทำให้มีฝนตกค่อนข้างมากอากาศเย็นสบาย โดยเพาะหลังฝนตกโอโซนจากดอยสุเทพหล่อเลี้ยงคนเมืองเชียงใหม่ทั้งเมือง ในหน้าร้อนเชียงใหม่ค่อนข้างร้อน แต่พอช่วงบ่ายๆ เงาดอยสุเทพก็บังเมืองเชียงใหม่ เสมือนหนึ่งว่าช่วงเย็นยาวนานกว่าปกติ นับว่าเป็นจังหวัดที่น่าท่องเที่ยวมาก

การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย


การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย คือการทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลงโดยพระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกาบัญญัติให้อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงก่อนครบกำหนดตามวาระ อันมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภาพ้นจากตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ การยุบสภาเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ทำให้มีการคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร อย่างไรก็ตาม การยุบสภาเป็นกระบวนการที่ไม่มีในระบบประธานาธิบดี เพราะขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจตามระบบดังกล่าว อันแตกต่างจากระบบรัฐสภาซึ่งเป็นการแบ่งแยกหน้าที่


การยุบสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นกระบวนการที่นำมาใช้แก้ปัญหาทางตันทางการเมือง กล่าวคือ การแก้ปัญหาอาจกระทำได้หลายประการ อาทิ การที่รัฐบาลลาออก การยุบสภา และรัฐประหาร เช่นนี้จึงกล่าวได้ว่า การยุบสภาเป็นมาตรการเกือบสุดท้ายก่อนรัฐประหาร โดยคืนอำนาจให้ประชาชน การคืนอำนาจให้ประชาชนในที่นี้ หมายถึง การให้ประชาชนอันเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ตัดสินโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง

อนึ่ง เหตุผลในการยุบสภานั้น หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติไว้ไม่ ดังนี้ จึงเป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น อาทิ เกิดความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล การใช้เป็นเครื่องมือในการชิงความได้เปรียบทางการเมือง เช่น ขณะที่ตนมีคะแนนนิยมสูงมาก การที่สภาวการณ์ต่าง ๆ สุกงอมพอสมควรที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนครบอายุสภา เช่น ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว ส่วนการยุบสภาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 คือ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดจากการชุมนุมนอกรัฐสภา จนอาจนำมาซึ่งการจลาจลและความสูญเสียในชีวิตของประชาชน

เตือนภัยหน้าร้อน


เตือนภัยหน้าร้อน! ระวังโรค “ฮีตสโตรก” ชี้ถึงขั้นเสียชีวิต


สธ.ชี้สภาพอากาศร้อนจัด เสี่ยงคนไทยเกิดโรค “ฮีตสโตรก” หรือโรคลมแดดชนิดที่ไม่มีเหงื่อออก เตือนผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคอเหล้า มีความเสี่ยง เผยเป็นแล้วโอกาสดับสูงถึงร้อยละ 70 แนะดื่มน้ำมากๆ ให้ถึงวันละ 2 ลิตร เพื่อป้องกัน


นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สภาพอากาศในประเทศไทยร้อนมาก อันเป็นผลพวงมาจากสภาวะโลกร้อน ทำให้ประชาชนไทยเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหลายโรค ที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วง และให้ทุกจังหวัดดำเนินการป้องกันอย่างเข้มงวดในขณะนี้คือ โรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมักพบบ่อย เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป แต่โรคที่ยังมีการพูดถึงกันน้อยมากคือ โรคลมแดด ซึ่งเกิดในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัด ทางการแพทย์เรียกว่า ฮีตสโตรก (Heat stroke) เป็นภาวะวิกฤติของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ มีข้อมูลในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีประชาชนเสียชีวิตจากสาเหตุนี้ปีละประมาณ 400 คน ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานใครเสียชีวิต

คิดอย่างไรไม่ให้เครียด


เครียด เป็นภาระที่ทุกคนไม่อยากประสบพบพาน แต่คงไม่มีใครที่ไม่เคยเครียด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับความเครียด และวิธีการคิดเพื่อที่จะได้ไม่เครียดกันดีกว่า
ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดจากการตื่นตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นเรื่องที่เกิดกำลังความสามารถที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์และส่งผลทำให้เกิดอาการผิดปกติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจตามไปด้วย
ความเครียดนั้นมีกันทุกคน แต่ละมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาการคิดการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าคิดว่าปัญหาไม่ร้ายแรงแก้ไขได้โดยง่าย ก็จะไม่เครียด แต่ถ้าหากว่าปัญหานั้นยิ่งใหญ่ ร้ายแรง แก้ไขลำบาก ก็จะทำให้เครียดมาก หากว่ามีความเครียดในระดับที่พอดี ๆ ก็จะช่วยให้มีพลัง มีความกระตือรือร้นในการต่อสูงชีวิต ฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งนี่เองคือข้อดีของความเครียด ไม่ใช่ว่าเครียดจะไม่มีส่วนดี ๆ เอาเสียเลย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดมี 2 ประการคือ
1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาการปรับตัว ปัญหาการเรียน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล่วนเป็นตัวกระตุ้นอย่างดีที่จะทำให้เกิดความเครียดได้
2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล จะสังเกตได้ว่าคนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจัง ใจร้อนและวู่วาม
จากสาเหตุที่สำคัญนี้ ความเครียดจะไม่เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดจากทั้งสองสาเหตุประกอบกันคือ มีสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นตัวกระตุ้น แล้วมีความคิดและการประเมินสถานการณ์เป็นตัวบ่งว่าจะเครียดมากเครียดน้อยเพียงใด
เมื่อปัญหากระตุ้นให้เกิดความเครียด การลดความเครียดจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งวิธีคิดที่เหมาะสมได้แก่
1. คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเอาจริงเอาจัง เข้มงวดจับผิด หรือตัดสินถูกผิดตัวเอง หรือผู้อื่นตลอดเวลา รู้จักผ่อนหนัก ผ่อนเบา ผ่อนสั้น ผ่อนยาว ลดทิฐิมานะและที่สำคัญควรรู้จักการให้อภัยก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้น และมีความเครียดน้อยลง
2. คิดอย่างมีเหตุผล ไม่ด่วนเชื่ออะไรง่าย ๆ ไม่ด่วยสรุปอะไรง่าย ๆ ให้พยายามใช้เหตุผลตรวจสอบข้อเท็จจริง ความเป็นไปได้ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกเอาง่าย ๆ แล้ว ยังสามารถตัดความกังวลใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปได้อีกด้วย
3. คิดหลาย ๆ แง่มุม มองหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านดีและไม่ดี พึงระลึกไว้เสมอว่า ทุกอย่างมีข้อดีและข้อไม่ดีประกอบกันทั้งสิ้น จึงไม่ควรมองด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ และที่สำคัญ ควรหัดคิดหัดมองในมุมของคนอื่นด้วย อย่างที่เขาเรียกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จะช่วยให้เรามองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม
4. คิดแต่เรื่องดี ๆ เพราะหากว่าเราคิดแต่เรื่องร้าย ๆ เรื่องความล้มเหลวผิดหวังหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ ก็จะทำให้เครียดมากขึ้น ควรคิดถึงเรื่องดี ๆ ให้มาก ๆ นอกจากไม่ทำให้เครียดแล้วยังทำให้สบายใจมากขึ้นด้วย
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้างรับรู้ความรู้สึกและความเป็นไปของคนอื่นและคนใกล้ชิด ใส่ใจที่จะช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้อื่นในสังคม บางครั้งจะพบว่า ปัญหาหรือความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับปัญหาของผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกแบบนี้จะทำให้เครียดน้อยลง จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าสามารถช่วยให้ผู้อื่นแก้ไขปัญหาได้ ก็จะทำให้สุขใจมากขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเดียว

ฟังเพลงหน่อยนะจะได้ไม่เครียด